วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


• ประสูติ

 เมื่อพระนางสิริมหามายา
พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ
แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ 

พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ 

ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตาม
ประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อน
พระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น

ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
ครั้นประสูติได้ ๕ วันก็ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ”
• เจ้าชายสิทธัตถะกับเทวทูตทั้ง ๔

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะได้ฟังคำทำนายว่า ... 
เจ้าชายสิทธัตถะ จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ์

หรือเป็นศาสดาเอกแห่งโลกประการใดประการหนึ่งแล้ว
พระองค์ก็จัดให้เจ้าชายสิทธัตถะเสพสุขอยู่แต่ในพระราชวัง

วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกจากพระราชวัง
และได้พบเห็นเทวทูตทั้ง ๔ อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ 
คนตาย และนักบวช

พระองค์จึงบังเกิดความสังเวชในพระราชหฤทัย
ใคร่เสด็จออกบรรพชาเป็นสมณะ
• เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรราหุลกุมาร

เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับ
สนิทพระกรกอดโอรสอยู่
ทรงดำริจะอุ้มพระโอรสขึ้นชมเชยเป็นครั่งสุดท้าย
ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม

เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา
จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรส

เสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาท
พบกับนายฉันนะซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่งไว

แล้วเสด็จออกจากพระนครในราตรีกาล
ซึ่งเทพยดาบันดาลเปิดทวารพระนครไว้ให้เสด็จ
โดยสวัสดี
• เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์
เมื่อพระองค์เสด็จออกพ้นพระราชวังเข้าเขตแดนแคว้นโกศล
และแคว้นวัชชี เวลาใกล้รุ่งก็เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที

พระองค์ทรงม้าข้ามฝั่งแม่น้ำ แล้วเสด็จลงไป
ประทับนั่งบนกองทราย  
ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร

ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ ครองผ้ากาสาวพัตร์
แล้วอธิษฐานใจบวชเป็นบรรพชิต ทรงส่งนายฉันนะกลับ

เสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ
• นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแก่พระสิทธัตถะ

เมื่อพระสิทธัตถะได้บำเพ็ญทุกรกิริยามา ๖ ปี
ก็มิได้บรรลุมรรคผล

จนทรงท้อพระทัย   ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย
พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน

จึงพิจรณาเห็นทางสายกลางว่าเป็นหนทาง
ที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหาร
บำรุงร่างกาย
เพื่อให้ร่างแข็งแรงมีกำลังบำเพ็ญเพียรต่อไป
จากนั้นประมาณครึ่งเดือน ก็ถึงวันเพ็ญเดือน ๖
 
นางสุชาดาบุตรสาวนายบ้านเสนานิคม ได้หุงข้าวมธุปายาส
เพื่อนำไปถวายเทวดาที่ต้นไทร ตามที่ได้บนบานไว้

ครั้นเห็นพระสิทธัตถะประทับอยู่ใต้ต้นไทรนั้น
จึงนำข้าวมธุปายาสเข้าไปถวายพร้อมกับถาดทองคำ
• พระมหาบุรุษเจ้า ทรงลอยถาดเสี่ยงพระบารมี

พระมหาบุรุษได้เสด็จลุกจากที่ประทับ
ทรงถือถาดข้าวมธุปายาส 
เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ประทับบ่ายพระพักตร์สู่บุรพาทิศ  
ทรงปั้นข้าวนั้นเป็นปั้นๆ นับได้ ๔๙ ปั้น เสวยจนหมด 
แล้วทรงถือถาดลงไปสู่แม่น้ำนั้น ทรงอธิษฐาน
เสี่ยงพระบารมีว่า ...
“ ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว
ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ”
แล้วทรงลอยถาดทองนั้น สู่แม่น้ำเนรัญชรา
ขณะนั้น อานุภาพพระบารมีของพระองค์ซึ่ง
บำเพ็ญมาบริบูรณ์ดีแล้ว
ได้แสดงให้เห็นอัศจรรย์ ถาดทองนั้นลอย
ทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น
แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช
พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้
เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
• พระมหาบุรุษเจ้า ทรงชนะมารด้วยบารมี ๓๐ ทัศ

พระมหาบุรุษได้เสด็จไปประทับใต
้ต้นมหาโพธิ์ในเวลาเย็น
ทรงกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา
เพื่อการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
พระยาวัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามพระองค์อยู่
จึงเข้าขัดขวาง
โดยขี่ช้างคิรีเมขละ นำเหล่าเสนามารจำ
นวนมากเข้ามารบกวน
หวังให้พระองค์เกรงกลัวจะได้ลุกขึ้นเสด็จหนีไป
แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งเป็นปกติโดยมิได้ทรงหวั่นไหว

พระยามารจึงโกรธมาก สั่งให้เสนามารกลุ้ม
รุมกันประหารพระองค์
พระองค์จึงทรงนึกถึงบารมี ๓๐ ทัศ
ที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ
โดยขอให้นางสุนทรีวนิดาแม่พระธรณีเป็นพยาน
แม่พระธรณีจึงผุดขึ้นมาจากพื้นดิน
แล้วบิดมวยผมจนน้ำท่วม
กระแสน้ำก็พัดพาพวกเสนามารไปหมดสิ้น
พระยาวัสสวดีมารจึงขอมแพ้และกลับไปยังที่อยู่ของตน
• ตรัสรู้
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป
ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น
ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย
เรียกว่าการเข้า “ฌาน” 
เพื่อให้บรรลุ “ญาณ”  จนเวลาผ่านไปจนถึง ... 
- ยามต้น : ทรงบรรลุ  “ปุพเพนิวาสานุติญาณ ”
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
- ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ ”

คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
- ยามสาม : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ”
คือรู้วิธีกำจัดกิเลส ด้วย อริยสัจ ๔
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ 
ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
• สามธิดามารมาทำลายตบะพระพุทธองค์

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วได้ทรง
เสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์
และบริเวณใกล้เคียงเป็นเวลา ๗ สัปดาห์

ในช่วงสัปดาห์ที่ ๕ พระองค์เสด็จไปทาง
ทิศตะวันออกของต้นมหาโพธิ์
แล้วประทับอยู่ใต้ต้นไทรที่ชื่อ “อชปาลนิโครธ” 
เพราะเป็นที่อยู่ของคนเลี้ยงแพะ
ก็ได้มีสามธิดาของพญามาร
มี นางตัณหา นางราคา และนางอรดี
รับอาสามาทำลายตบะ
ของพระพุทธองค์ ด้วยการขับร้อง
ฟ้อนรำยั่วยวนต่างๆนานา
แต่พระองค์ก็มิได้สนใจ นางทั้งสามจึงผิดหวังกลับไป
• ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนา

เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณา
ถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา
ว่าเป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด
ยากที่จะเข้าใจได้
จึงทรงท้อพระทัยในการที่จะแสดงธรรมเพื่อ
โปรดสรรพสัตว์
ท้าวสหัมบดีพรหม จึงเสด็จลงมาทูลอารธนา
พระพุทธองค์
ให้แสดงธรรมโปรดชาวโลกความว่า ...
“ พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ    
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สันฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา       
เทเตสุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ”

แปลว่า “ ท้าวสหัมบดีพรหม ประณมกรกราบทูลอารธนา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า
สัตว์โลกในที่นี้
ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่
ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือ
ชาวโลกเทอญ ”
เมื่อพระพุทธองค์ได้ฟังแล้ว ก็ทรงรับคำอาราธนานั้น
• ทรงหยั่งเห็นสันดานของมนุษย์ประดุจ
ดังดอกบัว ๔ เหล่า
เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับคำอารธนาของ
ท้าวสหัมบดีพรหมแล้ว
ทรงเปรียบเทียบมนุษย์กับดอกบัว ๔ ประเภท คือ
๑ อุคฆติตัญญุ คือพวกฉลาดมาก
เหมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว
เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมที่ยกขึ้น ก็จะเข้าใจได้โดยง่าย
๒ วิปจิตัญญู คือพวกฉลาดพอควร
เหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ
เพียงฟังคำอธิบายก็เข้าใจได้
๓ เยยะ คือพวกฉลาดปานกลาง หรือเวไนยสัตว์ 
เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาในวันต่อๆไป
เมื่อได้รับการอบรมบ่มสติปัญญาพอควร
ก็จะเข้าใจธรรมได้
๔ ปทปรมะ คือผู้ที่โง่เขลา เหมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม 
ยากที่จะสอนให้เข้าใจได้  ไม่มีโอกาสโผล่เหนือน้ำ
• ปฐมเทศนา 

พระพุทธองค์ทรงนึกถึงบัวพ้นน้ำ
เป็นกลุ่มแรกที่พระองค์จะแสดงธรรม
จึงเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก
คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”
ในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหบูรณมี 
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม
พระพุทธองค์ถึงกับเปล่งวาจา
“อัญญาสิ ๆ วตโกณฑัญโญ”
แปลว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ๆ ”
ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญา
“อัญญาโกณฑัญญะ” 
และได้ทรงพระกรุณารับท่านมาบวช
โดยล่าวว่า “ ท่านจงมาเป็นภิกษุเถิด
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
• การประชุมพระอรหันต์

 ๏ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
มาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว 
เมื่อถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๓ ( มาฆปุรณมี ) 
ซึ่งตรงกับวันทำพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 
พระพุทธองค์ได้ประทับ ณ เวฬุวนาราม ( วัดเวฬุวัน )
เมืองราชคฤห์ 
ครั้งนั้นได้มีพระอรหันต์ขีณาสพเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ 
ได้พร้อมกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา
พระองค์ทรงเห็นเป็นนิมิตอันดี 
จึงได้เสด็จท่ามกลางพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์นั้นแสดง “โอวาทปาติโมกข์” 
ทรงทำวิสุทธิอุโบสถประทานธรรม
อันเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา 
เพื่อเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนา
สำหรับพระสาวกสืบไป 
• โปรดพุทธมารดา

เมื่อพระพุทธมารดาได้ประสูติพระกุมาร
สิทธัตถะได้เพียง ๗ วัน
ก็ได้ทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต
ในพรรษาที่ ๗ นับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้  
พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษา
ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพื่อจะทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดา
พระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับจำพรรษาท
ี่โคนต้นปาริฉัตร 
บนแท่นแผ่นหินที่ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง 
เรียกว่า ‘บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์’
พระพุทธมารดาซึ่งอยู่ในเพศเทพบุต
รในสวรรค์ชั้นดุสิต
ได้เสด็จมาฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว
บรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด


ที่มา : www.geocities.com/lekpage_plus/bd_history.html
• เสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรม
มาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี
ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา
ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม
ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖
พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย
ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์
พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย
ก็เกิดอาพาธลง
แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา
ประทับ ณ ป่าสาละ
เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น
ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง
ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น
พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาท
ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลาย
ไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน
และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์
ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน
ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นิทาน แปลว่า เหตุเป็นเครื่องมอบให้ซึ่งผล, มูลเค้า, เรื่องเดิม, สมุฏฐาน
           ชาดก แปลว่า ประวัติการทำความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีมาในชาติก่อน ๆ
นิทานชาดก   มิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม แต่นิทานชาดก  คือ  เรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุในโอกาสต่าง ๆ บางครั้งก็เพื่อแสดงภูมิหลังของผู้ที่พระองค์ต้องการแสดงธรรมให้ฟัง บางครั้งก็เพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
      ผู้อ่านนิทานชาดก หรือนิทานธรรมะ ควรอ่านอย่างพิจารณา และนำหลักธรรมไปใช้เป็นคุณประโยชน์ ส่วนความ เพลิดเพลินจากนิทานธรรมะนั้น ถือเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น  จึงจะนับว่าได้รับประโยชน์จากนิทานชาดก หรือ นิทานธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีนิทานภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน คลิปนิทาน การ์ตูนสุภาษิต ให้ศึกษา เพื่อให้เป็น นิทานเยาวชน นิทานเด็ก นิทานสอนใจ นิทานคุณธรรม เพื่อจรรโลงจิตใจ ผู้ศึกษาให้รักในคุณงามความดี